Homepage

Book Blog




เสาชิงช้า

วัดร่องขุน

พระธาตุพนม

เกาะล้าน

พระมหาธาตุแก่นนคร

สวัสดีครับยินดีต้อนรับสู่ WEB BLOG ของผมครับ


ผมชื่อณัฐชนน ผลพันธิน   อายุ 17 ปี
เกิดวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2545
หมู่เลือด O  ศาสนา พุทธ   สัญชาติ ไทย
ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6(วิทย์-คณิต)โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
สิ่งที่ชอบทำ คือ เล่นเกม(โดต้า,แอล,ฮอน,เคาเตอ,ฟอรทไนท์,พับจี   เล่นหมด) ฟังเพลง(ไทย สากล ฟังหมด) ดูหนัง(แอคฃั่น ดราม่า คอมเมดี้ ไซไฟ ดูหมด)  อาหารที่ชอบ คือ อาหารไทย
นิสัยส่วนตัวเป็นคนมีน้ำใจชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นคนดี มีศีลธรรม จริยธรรม ไม่คดโกง ทำตามกฎระเบียบ

ศาสตร์พระราชา “เศรษฐกิจพอเพียง”


เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว ที่คนไทยรู้จัก “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พระราชทานเป็นแนวทางในการนำพาประเทศไทยให้ข้ามพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” จนหลายภาคส่วนน้อมนำหลักปรัชญานี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติ
จวบจนวันนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจ
และสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษา จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิมั่นพัฒนา ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนในประเทศไทยในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ได้นำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในวงกว้าง
นายจิรายุเล่าถึงที่มาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครั้งแรกเมื่อปี 2517 คนไทยให้ความสนใจมาก คือ เมื่อปี 2540 เพราะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนเกิดต้มยำกุ้ง พระองค์เคยรับสั่งว่าเราอย่าเป็นเสือกันเลย ไปพัฒนาเศรษฐกิจให้ทุกคนยกระดับขึ้นมา กระทั่ง 2540 เศรษฐกิจล่มสลาย พระองค์รับสั่งแนะนำว่า อย่าไปทำแบบไม่ยั่งยืน มาสร้างพื้นฐานให้คนทั่วๆ ไปได้มีความอยู่ดีกินดีตามอัตภาพเสียก่อน แล้วค่อยไปสร้างบนพื้นฐานที่มั่นคง ประเทศจะเจริญเติบโต ไม่ล้มครืนลงมาระหว่างที่ฐานไม่ดี”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบเทียบ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เหมือน “เสาเข็ม”
“พระองค์รับสั่งว่า บ้านเรือน ถ้าจะให้มั่นคงต้องมีเสาเข็ม แต่เสาเข็มอยู่ใต้ดิน เพราะฉะนั้นไม่มีใครเห็น จะลืมเกี่ยวกับบทบาทของเสาเข็ม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็เหมือนเสาเข็ม ที่เป็นรากฐานแห่งความมั่นคง แต่มองไม่เห็น ถ้าพื้นฐานคนไม่มีความอยู่ดีกินดีตามอัตภาพแล้ว ไปสร้างอะไรที่ใหญ่โตบนสิ่งที่ไม่มีพื้นฐานที่มั่นคง จะล้มลงมาง่าย” นายจิรายุกล่าว และว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ข้อคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บวก 2 เงื่อนไข คือ ความรู้คู่คุณธรรม
“สิ่งที่จะมาลดความเสี่ยง ทำให้รากฐานมั่นคง ไม่ล้มลงง่าย คือ การมีความคิดแบบพอเพียง ไม่โลภ และมีความรู้คู่คุณธรรม ความรู้แบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ 1.ความรู้ของชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้าน 2.ความรู้จากศาสตร์พระราชา ตามโครงการพระราชดำริต่างๆ หรือตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งเราไม่ปฏิเสธที่จะใฝ่รู้ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผู้นำที่มีคุณธรรม ถ้ามีครบทั้งหมดนี้จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน” นายจิรายุย้ำ


ไม่เพียงเท่านั้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังได้รับการ “ยอมรับ” จากนานาชาติอย่างกว้างขวาง โดยเมื่อปี 2549 “สหประชาชาติ” หรือ ยูเอ็น โดย นายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม โดยกล่าวในโอกาสทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลว่า
“หากการพัฒนาคนหมายถึงการให้ความสำคัญประชาชนเป็นลำดับแรก ไม่มีสิ่งอื่นใดแล้วที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการพัฒนาคน ภายใต้แนวทางการพัฒนาคนขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงอุทิศพระวรกาย ทรงงานโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ไม่เลือกเชื้อชาติ วรรณะ และศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ด้วยพระปรีชาสามารถในการเป็นนักคิดของพระองค์ ทำให้นานาประเทศตื่นตัวภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การเดินสายกลาง รางวัลความสำเร็จสูงสุดครั้งนี้ เป็นการจุดประกายแนวคิดการพัฒนาแบบใหม่สู่นานาประเทศ”
จึงเป็นที่มาของหนังสือ “แนวคิดของความพอเพียง : ของขวัญจากประเทศไทยแด่โลกที่ไม่ยั่งยืน” (Sufficiency Thinking : Thailand”s gift to an unsustainable world) ภาคภาษาอังกฤษ ได้โปรเฟสเซอร์ระดับโลกอย่าง
ศ.ดร.แกลย์ ซี เอเวอรี ผู้บุกเบิกในแวดวงวิชาการด้านภาวะผู้นำแบบพอเพียง เป็นที่ยอมรับทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย เป็นบรรณาธิการ
เนื้อหาในหนังสือ ศ.ดร.เอเวอรีได้เกริ่นไว้อย่างน่าสนใจว่า “Thailand : An unexpected role model” หมายถึง “ประเทศไทย : แบบอย่างที่เหนือความคาดหมาย”
ณ วันนี้ นายจิรายุบอกว่า ความรู้จักกับคำว่า “พอเพียง” ของคนไทยยังอยู่ในระดับสมอง แต่ยังไม่เข้า “สายเลือด” หรือ “ดีเอ็นเอ”
“เพราะถ้าเข้าดีเอ็นเอ จะต้องปฏิเสธการซื้อหรืออะไรที่ฟุ่มเฟือยเกินไป เวลาเกิดความโลภขึ้นมา ต้องสกัดได้ โดยไม่จำเป็นต้องเอาสมองไปตัด แต่ผมเชื่อว่า ต่อไปจะเป็นไปได้ หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะเข้าไปอยู่ในดีเอ็นเอของคนไทย หัวใจของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากไม่โลภ ต้องมีความรู้คู่คุณธรรม มีผู้นำที่ดีเป็นโรลโมเดล และเอา 3 หลักไปใช้คือ พอประมาณ ไม่สุดโต่ง มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี” นายจิรายุกล่าว
ซึ่ง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงเป็น “แบบอย่างที่ดี” ในเรื่องนี้
“พระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจ พระจริยวัตรต่างๆ ที่พวกเรารู้อยู่แล้ว อย่างเรื่อง ยาสีฟัน รองพระบาท พระองค์ทรงเป็นอย่างนั้นจริงๆ ทรงเป็นปราชญ์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนัก ทรงสนพระทัยทุกเรื่องที่เป็นเรื่องของประชาชน ดั่งพระปฐมบรมราชโองการที่ทรงปฏิบัติมาตลอด 70 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นายจิรายุกล่าว
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “แนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้คนไทย และได้รับการแซ่ซ้อง” เป็นปรัชญาที่เป็น “ของขวัญ” แก่ “โลก”










พระมหาธาตุแก่นนคร



ประวัติ

ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้า ชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุพนม จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และ มหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13 ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527

ภายในองค์พระธาตุ

มีอยู่ 9 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เมื่อเดินขึ้นภายในพระธาตุบริเวณชั้นแรก เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง ท่านจะพบกับที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ ๑๐๐ องค์ ที่บรรจุอยู่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้ายมือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับตักบาตร ที่เรียกว่า “ ตักบาตร 108” โดยใช้เหรียญในการตักบาตรนั้น ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตักบาตร ซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เมื่อเดินตรงไปจะเห็นพระประจำวันเกิดมี่ทางวัดนำมาประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้สักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิดของตนเอง เพื่อความเป็น ศิริมงคลต่อตนเอง และเมื่อบูชาพระประจำวันเกิดเรียบร้อยแล้ว หากใครต้องการจะทำนายโชคชะตาด้วยตนเอง ก็สามารคเสี่ยงเซียมซีหรือยกช้างทองเหลือง เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสมดังปรารถนาหรือไม่
ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้องห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า “คะลำ” ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ
ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น
ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของเก่า บานประตูหน้าต่าง ภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ
ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก
ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร
ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตมีย์มีใบ้
ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น ฯลฯ
ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่สวยงาม
เครดิต

เกาะล้าน



เกาะล้าน เป็นเกาะในอ่าวไทย อยู่ในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,500 ไร่ หรือ 5.6 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในแนบขนานกับหาดพัทยา ห่างจากชายฝั่งเมืองพัทยาเพียงเจ็ดกิโลเมตร มีจุดเด่นคือทะเล ประการังและชายหาดที่สมบูรณ์ สวยงาม ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยสามารถเดินทางได้ทั้งจากเรือสปีดโบ้ท หรือเรือเฟอร์รี่ที่ท่าเรือแหลมบาลีฮาย ซึ่งจะไปเทียบท่าที่ท่าเรือหน้าบ้านและหาดตาแหวน

ภูมิประเทศ

พื้นที่มีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านไม่เท่า มีพื้นที่ประมาณสามพันห้าร้อยไร่ สามารถที่จะวัดความยาวของเกาะล้าน จากทิศเหนือจนถึงทิศใต้ ได้ความยาวประมาณ 4.65 กม. ในส่วนของความกว้างของเกาะล้านส่วนที่มีความกว้างมากที่สุดสามารถวัดได้ประมาณ 2.15 กม.

สถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะล้าน

หาดตาแหวน

อยู่ทางตอนเหนือของเกาะ เป็นหาดทรายยาวประมาณ 750 เมตร มีความงามทางธรรมชาติมาก เพราะมีหาดทรายที่ขาวสะอาดและน้ำทะเลใสสีคราม ปลายหาดทั้งสองด้านยังมีแนวปะการังในระดับน้ำตื้นที่มีสีสันสวยงาม อีกทั้งมีร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกตั้งเรียงรายตลอดแนวชายหาด [2]

หาดสังวาลย์

เป็นหาดอีกหาดหนึ่งที่อยู่ติดกับหาดตาแหวนมีความยาว 150 เมตร มีความสงบ จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่ชอบนอนอาบแดด หาดสังวาลย์จะสวยงามมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม - เมษายน

หาดทองหลา

เป็นชายหาดขนาดเล็กที่เงียบสงบเหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนแบบส่วนตัว กิจกรรมหลักของหาดทองหลางคือการดำน้ำดูปะการัง บริเวณปลายหาดที่เชื่อมต่อกับหาดตาแหวน ทั้ง 2 ด้านนี้ยังมีแนวปะการังน้ำตื้นที่สวยงามและมีบริการเดินชมปะการังใต้น้ำแบบ Sea Walker ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาใช้บริการ ส่วนนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบปะการังแต่ไม่ชอบการดำน้ำที่หาดนี้ยังมีบริการเรือท้องกระจก ให้สามารถลงไปชมปะการังได้อย่างใกล้ชิด

หาดตายาย

เป็นชายหาดส่วนตัวที่มีสภาพสงบและร่มรื่น มีน้ำทะเลที่ใส หาดทรายขาวสะอาด ความยาวประมาณ 100 เมตร เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่ชอบนอนอาบแดด สองฝั่งของชายหาดประกอบไปด้วยหินก้อนใหญ่ เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวที่ชอบความเป็นส่วนตัว และในช่วงหน้าหนาวปลายปีต้นไม้บริเวณนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีส้มสวยงามมาก.

หาดแสม

OCT2010VN 246.JPG

มุมมองเกาะล้านในยามเย็น
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ เป็นหาดทรายยาวประมาณ 700 เมตร มีโขดหินและพื้นป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์มีความสวยงาม เงียบสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนและการเล่นน้ำ มีน้ำทะเลสีครามและหาดทรายที่ขาวสะอาด ปัจจุบันมีการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรวมทั้งปลูกต้นไม้ สร้างลานอเนกประสงค์ อาคารร้านค้าร้านขายอาหารที่ได้มาตรฐาน รวมถึงเส้นทางสัญจรที่สามารถเดินทางไปมาได้อย่างสะดวกจึงเป็นชายหาดอีกแห่งหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติแถบยุโรป อีกทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งของอาคารปลากระเบนสำหรับควบคุมการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมและเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงานการใช้พลังงานทดแทนในสถานที่ดังกล่าวอยู่เป็นประจำ

หาดเทียน

เป็นหาดที่สวยงามแห่งที่สองมีความยาวของหาดประมาณ 500 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ หาดทรายแห่งนี้มีความสวยงามไม่แพ้หาดตาแหวนแต่มีขนาดเล็กและเงียบสงบจึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

หาดนวล

อยู่ทางตอนใต้ของเกาะล้าน เป็นหาดขนาดเล็กยาวประมาณ 250 เมตร เป็นพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์เป็นของเอกชน สภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดเป็นปะการังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวมากนัก

จุดชมวิวเขานม

เป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดของเกาะล้านตั้งอยู่บริเวณเขานมใกล้ ๆ กับหาดแสมที่นักท่องเที่ยวสามารถเดิน หรือใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างขึ้นไปชมความสวยงามของท้องทะเลสีครามกับตัวเมืองพัทยา ที่ธรรมชาติช่างสร้างสรรค์ได้งดงามกลมกลืนดุจภาพวาด ที่ทุกคนต้องประทับใจ และบริเวณนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับนักปั่นจักรยานเสือภูเขาที่ชื่นชอบธรรมชาติ

จุดชมวิวกังหันลม

เป็นจุดชมวิวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งบนเกาะล้าน เพราะมีกังหันลมที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับเกาะล้านเรียงรายกันอยู่มากมาย นอกจากนั้นหากขี่รถขึ้นไปอีกหน่อย จะพบจุดชมวิวที่สามารถเดินดูได้รอบด้าน เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากทีเดียว แต่การขับขี่ยานพาหนะอาจจะต้องระวังนิดนึง เพราะทางค่อนข้างชัน

เครดิต

พระธาตุพนม



วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

ประวัติ

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว
เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

เครดิต

วัดร่องขุน




วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของตน วัดร่องขุ่นถอดแบบมาจากวัดมิ่งเมือง จังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 18.05 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และแผ่นดินไหวตามหลายครั้ง สร้างความเสียหายให้กับวัดร่องขุ่นเป็นอย่างมาก เช่น ผนังโบสถ์ปูนกระเทาะออก กระเบื้องหลุด ยอดพระธาตุหัก ภาพเขียนเสียหายหมด ทำให้ต้องปิดวัดเพื่อซ่อมแซมตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

ประวัติ

  1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
  2. ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
  3. พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่า

ความหมายของอุโบสถ

  • สีขาว : พระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
  • สะพาน : การเดินข้ามจากวัฏสงสารสู่พุทธภูมิ
  • เขี้ยว หรือ ปากพญามาร : กิเลสในใจ
  • สันของสะพาน : มีอสูรอมกัน ข้างละ 8 ตัว 2 ข้าง รวมกันแทนอุปกิเลส 16
  • กึ่งกลางของสะพาน : เขาพระสุเมรุ
  • ดอกบัวทิพย์ : มี 4 ดอกใหญ่ตรงทางขึ้นด้านข้างอุโบสถแทนซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
  • บันไดทางขึ้น : มี 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา       




เครดิต

เสาชิงช้า


 

เสาชิงช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ก็ตาม
นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร
เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี

การก่อสร้าง

จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์บันทึกไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างเสาชิงช้าในพระนครขึ้นตรงหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เมื่อวันพุธ เดือน 5 แรม 4 ค่ำ ปีมะโรง [note 1] บริเวณลานด้านเหนือของวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันบริเวณหน้าวัดสุทัศน์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่                             


                                                                                                                                  เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2


นายณัฐชนน ผลพันธิน



CONTRACT
LINE : nevermineman
FACEBOOK : ณัฐชนน ผลพันธิน
TEL : 089-161-6176